การละเล่นและศิลปะพื้นบ้าน


การละเล่นพื้นบ้าน  บ้านยางชุมใหญ่
            1.  การเล่นควายตึ่งตั่ง  เด้กสมัยก่อนต้องไปเลี้ยงควายหลังจากพ่อแม่ดำนาเสร็จก็ให้ลูก ๆ  นำควายไปเลี้ยง  นำควายไปดื่มน้ำที่บ่อที่หนอง  เด็ก ๆ  ก็จะนำควายไปดื่มน้ำ  ไปล้างควายให้สะอาด  แล้วนำไปผูกไว้ที่ฝั่งหนองให้เล็มหญ้าริมหนอง  แล้วก็จะจับกันเป็นคู่ ๆ  สลับเปลี่ยนกันเป็นคนขี่หลัง  โดยคนหนึ่งขี่อีกคนก็ให้ขี่โดยสมมุติให้ตนเป็นควาย  แล้วก็นั่งควายมาชนกันโดยใช้ไหล่คนที่แสดงเป็นควายชนกัน  ส่วนคนขี่ก็ดันกันให้สนุกครึกครื้น  เสร็จแล้วก็ให้คนที่เป็นคนขี่เป็นควายบ้าง  การเล่นชนกันจะเล่นบริเวณน้ำตื้น  เล่นได้ทั้งหญิงและชาย  บางทีก็เล่นผสมกัน  จะเป็นเด็กช่วงอายุ  7 10  ปี
            2.  ชกมวยเผือก  ในตอนเย็นช่วงประมาณ  6  ดมงเย็นถึง  1  ทุ่ม  เด็กส่วนหนึ่งจะออกเล่นที่ถนนที่เป็นทราย  แถวหน้าบ้านอาจารย์ใหญ่อุดมและถนนในหมู่บ้านสายอื่น ๆ  ที่เป็นทราย  จะมีเด็กโต  อายุประมาณ  12  ปีจะนัดให้เด้ก  อายุประมาณ 
5 10  ปี  มาชกกัน  โดยจะไปกระซิบฝ่ายหนึ่งว่าฝ่ายหนึ่งเขาท้าทายให้มาต่อยมวยเผือกกัน  แล้วถามว่าจะกล้าไหม  ถ้าเป็นเด็กรุ่นเดียวกัน  ก็จะไม่ให้หยามได้  ถือว่าเป็นการดูถูกกันก็จะรับคำท้าทันที  แต่ถ้าต่างรุ่นก็ยอมแพ้  แล้วกลับมาถามอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนกัน  ให้เกิดการเขม่นกันขึ้น  เสร็จแล้วก็นัดหมาย  โดยเด็กใหญ่จะทำการขึงเชือก  มีกติกาว่าอย่าลอดเผือกหรือให้ลอดเผือกได้ก็แล้วแต่จะตกลงกัน  ให้ยืนคนละฝั่งของเผือก  ( ขึงเผือกก็คือขึงผ้าขาวม้า แล้วบอกว่าชก  ก็เหมือนกับการชกมวยทั่วไป  ถ้าใครเก่งกล้ากว่าก็จะเอามือข้างหนึ่งจับเผือกไว้  แล้วก็ใช้ปากท้าทายว่าถ้เก่งจริงก็เข้ามาเลย  ถ้ากลัวหน่อยก็ตีได้สักหมัดสองหมัดแล้วก็ถอยออก  ถ้าเห็นว่าคู่ต่อสู้ขี้ขลาดน่าจะเข้าถล่มได้เต็มที่  ก็ทำเป็นขู่แล้วลอดเผือกไล่ตีให้ยอมแพ้ไปเลย  บางคนก็บอกว่าวันนี้ขอยอมแพ้แต่วันหน้าเจอกันใหม่  คือยอมแพ้เป็นบางวัน  และแต่ละคู่ก็มักจะเปลี่ยนกันแพ้เปลี่ยนกันชนะ  คนไหนชนะจะได้ชื่อว่าผู้แพ้  ( ภาษาอีสาน  แพ้  แปลว่า  ชนะ
            3.  เล่นบักเตยตำ  เป็นการเล่นที่ค่อนข้างจะแฝงไว้ซึ่งความรุนแรงสังนิดหนึ่ง  โดยเฉพาะเล่นบักเตยตำหมู่  บางทีเสื้อผ้าทั้งดำ  ทั้งขาด  หัวโหม่งชนกันบ้าง  ชนต้นเสาหัวโนบ้าง  หัวแตกบ้าง  แต่ก็สนุกดี  สถานที่เล่นดีที่สุดก็ใต้ศาลาที่เป็นโรงเรียนนั่นเอง  จะเล่นในตอนเช้า  เที่ยง  เย็น
            4.  เล่นสะบ้า  ส่วนใหญ่เด็กหญิงชอบเล่น  เด็กผู้ชายร่วมเล่นเป็นครั้งคราว  ส่วนใหญ่เด็กผู้ชายจะก่อกวนยั่วให้เด็กผู้หญิงโกรธ  โดยแย่งลูกสะบ้าให้เด็กผู้หญิงไล่ตี
           5.  เล่นบักอี่  นำไม้ยาวประมาณ  40  เซนติเมตร  และไม้สั้นประมาณ  15  เซนติเมตร  มาฝนหลุมแล้วใช้ไม้สั้นพาดขวางปากหลุมแล้วใช้ไม้ยาวดีดไปข้างหน้า  ให้ทุกคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามไปรับเมื่อรับได้ก็จะโยนมาที่หลุมแล้วให้คนดีดไม้คอยตีไม้ทีเขาโยนลงหลุมให้ไกลมากที่สุด  แล้วนำไม้ดีด  วัดจากหลุมไปยังไม้เล็กที่ตกว่าได้กี่เท่า  ถ้าได้  เท่าก็จะตีไม้ให้ไกลที่สุด  ครั้งเช่นกัน  แล้วให้ฝ่ายรับ  จับเอาไม้เล็กแล้วเปลี่ยนกันร้องอี่ไปเรื่อย ๆ  แบบไม่ให้หายใจจนถึงหลุม  ถ้าไม่ถึงหลุมก็เป็นฝ่ายรับอีก  แต่ถ้าถึงหลุมก็ให้ฝ่ายดีดมาเป็นฝ่ายรับบ้าง  ส่วนใหญ่เล่นที่ลานวัด
            6.  แกว่งโหวด  โหวดมีเสียงที่ไพเราะ  ทำจากไม้ที่เป็นรูมัดรวมกัน  มีขี้สูดปิดที่หัวโหวดใช้เชือกมัดเป็นต่อง  แกว่งหมุนรอบตัวเอง  แล้วปล่อยให้ไกลที่สุด  ส่วนใหญ่เป็นของเล่นเด็กโต  หรือหนุ่มอายุประมาณ  12 18  ปี
          7.  ตีคี  จะเป็นการเล่นในฤดูแล้ง  ช่วงน้ำบึงแห้ง  เด็กหนุ่มจะนำฟืนมาก่อกองไฟขนาดใหญ่ฝ่ายละ  1  กอง  แล้วจับด้นฟืนที่ติดไฟขึ้นมา  แล้วเอาท่อนไม้ตีถ่านไฟไปจากฟืนให้กระดอนไปที่ฝ่ายตรงข้าม  จะทำให้เกิดแสงลอยไปในกลางอากาศที่สวยงาม  แต่ละฝ่ายจะตีใส่กัน  ต่างฝ่ายก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกตนเอง  แต่ถ้าพลาดถูกกันเองก็ถือว่าไม่มีความผิด  เพราะต่างยินยอมที่จะเล่นกันเอง
           8.  เล่นว่าว  ในฤดูเก็บเกี่ยว  ผู้คนจะนอนที่นาเพื่อเฝ้าข้าวที่นา  เพื่อตีข้าว  ขณะเดียวกันก็จะมีการเล่นว่าว  บางคนก็ทำว่าวเล็ก  บางคนก็ทำว่าวใหญ่  บางคนทำว่าวใหญ่มากตรงหัวว่าวจะติดธนู  ซึ่งทำมาจากใบตาล  จะมีเสียงดังตื่อ ๆ  ตลอดคืน  บางวัดก็ทำว่าวใหญ่พิเศษ  จะมีการเกณฑ์ลูกบ้านจำนวนมาก  ประมาณ  10 20  คน  ช่วยกันดึงว่าววิ่งเพื่อให้ว่าววิ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า  ถ้าถึงคนเดียวคงจะไม่ไหวเพราะหนักมาก  อาจทำให้คนดึงลอยขึ้นหรือล้มก็ได้
         9.  เล่นบักลี่  หรือเล่นซ่อนหา  โดยเฉพาะตอนกลางคืนเดือนหงาย  เด็ก ๆ  จะมารวมกันกลางลานหมู่บ้าน  เปลี่ยนกันเป็นคนตาม  เป็นคนไปซ่อนตัว  วิ่งซ่อนตามเล้า  บังต้นกล้วย  บังเสวียน 
         10.  ไปแข้งเขียด  เป็นวิธีการหาอาหารที่มีความสนุกสนาน  ในตอนเย็นประมาณ  1 2  ทุ่ม  ในฤดูแล้งชาวบ้านจะเอาก้านมะพร้าวมาสุมไฟที่บริเวณบึง  จะมีเขียดจำนวนมากวิ่งเข้ากองไฟ  ชาวบ้านก็จะใช้สวิงไล่จับ  ( ไล่แข้งเขียด เป็นที่สนุกสนานร่วมกันหลายคน

ศิลปะพื้นบ้าน
            หมอลำหมู่  ในบ้านยางชุมใหญ่เดิมจะมีหมอลำประจำหมู่บ้าน  เป็นคณะของพ่อใหญ่อินทะเนีย  จะมีการฝึกซ้อม  คนหมู่บ้านนี้จะเป็นหมอลำอยู่หลายท่าน  เป็นพระเอก  นางเอก  ตัวตลกหรือเสนาน้อย  ผู้ได้ชื่อว่าเป็นหมอลำ  เช่น  หมอลำมี  หมอลำทอง  หมอลำเหลง  หมอลำเอ๋ง  ฯลฯ
            ในปัจจุบันก็มีคนบ้านเราไปเป็นหมอลำ  เช่น  หมอลำโกศลโสเจ๊งเฮงดี  หมอลำเสียงอีสานก็มีลูกหลานบ้านยางชุมใหญ่หลายคน  หัวหน้าวงคุณนกน้อย  อุไรพรก็เป็นศิษย์เก่าของยางชุมใหญ่  คุณแพรทอง  ( นายจีระศักดิ์  สีหะวงษ์ คุณอุทัย  สีหะวงษ์  คุณเสิน
            รำวง  วัยรุ่นสมัย  40 60  ปีที่ผ่านมาแล้วทุกคนรู้ดีเกี่ยวกับรำวง  ทุกครั้งที่มีงานวัดก็จะมีเวทีรำวง  มีสายรุ้งเป็นระบายที่สวยงาม  มีสาว ๆ  ใส่กระโปรงสั้นแต่งตัวสวยงามนั่งรอหนุ่ม ๆ  ให้ขึ้นไปโค้ง  ทุกคนจะต้องมีบัตรเสียเงินให้กรรมการขายบัตร  รอบละ  1 บาท  บ้านยางชุมใหญ่ก็มีคณะรำวงกันหลายคณะเหมือนกัน
            หมอแคน  หมอซุง  หมอพิณ  หมอขลุ่ย  เป่าโหวด  และการพูดผญา  คนบ้านยางชุมใหญ่ในอดีตน่าจะได้ชื่อว่าหมู่บ้านศิลปินมาก่อน  การจะไปคุยสาวที่ตำข้าว  สาวที่เข็นฝ้าย  หนุ่ม ๆ  ก็จะไปเป็นกลุ่ม  หรือเดี่ยว  โดยจะส่งเสียงดนตรีไปก่อนเป็นการส่งเสียงบอกเจ้าสาวเตรียมตัวไว้  หนุ่ม ๆ  จะมาเกี้ยวพาราสี  จะเล่นดนตรีอันเป็นเพลงสัญลักษณ์ของตนเองดังเสียงจิ้งหรีดร้อง  ทำให้สาวจำเสียงได้  ส่วนคำพูดก็จะพูดจาอ่อนหวานเป็นผญาในเชิง  กาพย์  กลอน  เช่น  คันบ่จริงอ้ายบ่เว้าคันบ่อเอาอ้ายบ่ว่า
            งานฝีมือบ้านเรา  ส่วนใหญ่จะเป็นงานหัตถกรรมทั่วไป  ยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง  แต่ก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีฝีมือในการทำการหัตถกรรม  เช่น
1.      งานจักสาน  มีงานสานข้อง  แห  ไซ  ก่องข้าว  คนเบ็ด  ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือคนแก่
2.      งานสร้างเกวียน  จะมีในอดีต  มีเกวียนจำนวนมากเพื่อใช้ในการสัญจรไปมา
3.      งานทอผ้าฝ้าย  ทอผ้าไหม  จะเห็นเครื่องดีดฝ้าย  อิ้วฝ้าย  เข็นฝ้าย  มาจนกระทั่งปัจจุบัน
4.      งานเลี้ยงไหม  จะมีหูก  กี่  ประมาณ  50  เปอร์เซนต์ของหมู่บ้าน
5.      งานตัดเย็บเสื้อผ้า  เป็นงานฝีมือที่มีรายได้สูงในอดีต  ชาวบ้านยางชุมใหญ่สามารถทำได้ดี
6.      งานทอเสื่อกกปัจจุบันก็ทอใช้  ยังไม่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมจะมีเครื่องทอประมาณ  30  เครื่อง
7.      งานเจียระไนพลอย  เป็นกิจกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงเศรษฐกิจดี
8.      งานตีเงิน  ฝังหัวเพชร  ในหมู่บ้านก็มีช่างไปทำงานที่กรุงเทพฯ
งานฝืมือยังไม่ได้รับการส่งเสริม  คาดว่าต่อไปทางองค์การบริหารส่วนตำบลยางชุมใหญ่คงได้จัดตั้งกลุ่ม  จัดตั้งศูนย์หัตถกรรมประจำหมู่บ้าน  จัดส่งเสริมให้เป็นระบบ  มีระบบการส่งเสริม  การผลิต  การขาย  คาดว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น  มีงานทำมีเงินใช้  และทำงานอยู่ที่บ้าน


ขอขอบคุณข้อมูลดีที่มีประโยชน์จาก
 อาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว
*ข้อมูลบางส่วนอาจมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดจึงขออภัย ณที่่นี้ด้วย*

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น