ทรัพยากรธรรมชาติพืชและพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น


ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของบ้านยางชุมใหญ่
น้ำเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าที่บ้านยางชุมใหญ่ของเรามีได้ชื่อว่าเป็นบริเวณที่ขุดเจาะหาน้ำได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย  ขุดลงจากหน้าดินลงไปประมาณ  เมตร  ก็เห็นน้ำได้ใช้แล้ว  ความอุดมสมบูรณ์ในส่วนนี้เป็นที่ต้องตาต้องใจของคนต่างถิ่นที่ได้มาพบเห็น  ชนิดเจาะที่ไหนเมื่อไหร่ต้องได้น้ำอย่างแน่นอน  และมีน้ำดื่มที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำฝนมากที่สุด  เหมาะสำหรับการเกษตรปลูกผักสวนครัว  การปลูกไม้ผล  การทำนา
การที่มีน้ำมาก  ทำให้คนในท้องถิ่นไม่ค่อยเห็นความสำคัญของน้ำ  ไม่มีการอนุรักษ์น้ำ  ไม่มีการใช้น้ำอย่างเหมาะสม  ใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย  การขุดเจาะบาดาลใช้ในครัวเรือนจะมีทุกบ้าน  ทำให้น้ำใต้ดินบริเวณที่เป็นคำได้ไหลวนไปสู่บ่อใกล้เคียง  จึงทำให้น้ำแทบทุกบ่อเหลือง  ซึ่งเดิมแทบทุกบ่อน้ำจะใสสะอาดดื่มได้  แต่ปัจจุบันน้ำจะเหมาะสมที่จะนำมาดื่มมีน้อยบ่อ
หนองน้ำต่าง ๆ  อันเป็นที่ขยายพันธุ์ปลาทำให้มีปลาน้ำจืดมาก  พอเพียงแก่การนำมาเป็นอาหารของผู้คนในชุมชน  ควรได้รับการอนุรักษ์อย่างเหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชน
ป่าไม้ชุมชน  ป่าช้า  ป่าดอนปู่ตา  ป่าโนนยาง  ป่าแตงแซง  ประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่  1047   ( ..  2527 )  เนื้อที่  9098  ไร่  แทบทุกป่าถูกทำลายแทบจะไม่เป็นป่าอีกต่อไป  ถ้าจะฟื้นฟูป่าที่เหมาะสมในกาลต่อไปต้องรณรงค์ปลูกป่าปลูกไม้ผลในที่สวนที่นา  ถ้าจะมีป่าก็จะเป็นป่าปลูกใหม่  เพราะป่าที่เคยมีอยู่เดิมได้หายไปแล้ว  แม้แต่ต้นไม้ประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านก็หายไปทีละต้นสองต้น  ที่คงเหลืออยู่บ้างก็  มีต้นโพธิ์ใหญ่ที่วัดบ้านยางชุมใหญ่  ต้นมะม่วง  ต้นมะเฟือง  ต้นมะขาม  และทิศใต้ของหมู่บ้านก็มีต้นยางใหญ่อยู่  ต้น  ต้นไม้ที่ดอนปู่ตา  ต้นไม้ที่ป่าช้าได้โดยกรรมการหมู่บ้านได้นำไปสร้างวัด สำนักสงฆ์วัดป่ามงคลสุธาวาสส่วนหนึ่ง  ส่วนป่าแตงแซงได้หายไปพร้อมกับการเกิดแปลงหอมช่วงหลังปี  2530  เป็นต้นมา
ดินโดยทั่วไปก็ใช้ในการเพาะปลูกข้าว  และแปลงปลูกหอมเป็นดินร่วนปนทราย  การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่เหมาะสม  เช่นที่นาก็ทำเฉพาะนา  เมื่อหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็ไม่ใช้ประโยชน์อีกเลย  น่าจะแบ่งส่วนใดส่วนหนึ่งปลูกไม้ผล  ทำไร่นาสวนผสม  เลี้ยงปลา  เลี้ยงสัตว์  ปลูกผักไว้รับประทาน
ดินทรายที่นำมาใช้ในการก่อสร้างก็สามารถไปนำมาจากฝั่งมูลบริเวณห้วยครกได้  โดยปกติถือว่าบริเวณห้วยครกเป็นของบ้านยางชุมใหญ่  แต่เมื่อประมาณปี  พ..  2539  บ้านยางชุมใหญ่ซึ่งเดิมขึ้นตำบลลิ้นฟ้าได้แยกตนเองออกมาเป็นตำบลยางชุมใหญ่  ได้แบ่งแนวเขตกันใหม่  ที่ดินตรงนั้นก็อยู่แนวเขตของตำบลลิ้นฟ้า
ดินในหมู่บ้านยางชุมใหญ่โดยเฉพาะที่นามีแต่การใช้ในการผลิตข้าว  แต่ยังขาดการอนุรักษ์การบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม  ส่วนใหญ่มีแต่การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  ทำให้ดินเสื่อมไปทุกปี  ควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น  เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก  โดยเฉพาะธาตุอาหารของพืชที่จำเป็น  16  ธาตุ  ได้มาจากน้ำและอากาศ  3  ธาตุ  ส่วนอีก  13  ธาตุได้มาจากดิน  ธาตุทุกตัวมีความสำคัญเท่ากันหมด  แต่พืชต้องการธาตุ  เอ็น  พี  เค  มากกว่าธาตุอื่น ๆ  ซึ่งให้คุณค่าต่างกันดังนี้
1.      ธาตุไนโตรเจน  ( เอ็น มีหน้าที่ช่วยสร้างใบและส่วนที่ยังอ่อนของพืชที่มีสีเขียวทำให้ลำต้น  ใบ  เจริญเติบโตได้เร็ว  ใช้มากในสวนผักต่าง ๆ
2.      ธาตุฟอสฟอรัส  ( พี สร้างเสริมส่วนที่เป็นดอก  ช่วยในการแตกแขนงของรากพืชต้นแคระและไม่ติดดอกออกผลให้นึกถึงธาตุตัวนี้ไว้ก่อน
3.      ธาตุโปตัสเซี่ยม  ( เค สร้างเปลือกและลำต้นให้แข็งแรง  ไม่หักโค่นล้มง่าย  สร้างแป้ง  น้ำตาล  และเส้นใย  และช่วยให้พืชต้านทานโรคได้ดี
ความต้องการปุ๋ยของที่นาบ้านเรา  มีอัตราส่วน  เอ็น  2  ส่วน  พี  2  ส่วน  และ  เค  1  ส่วน  ปุ๋ยนาข้าวบ้านเราควรเป็นสูตร  16 16 8 ,  18 12 6 ,  16 24 16 ,  20 20 16
การใส่ปุ๋ยในนา            ครั้งที่  1  ใส่รองพื้นหรือหลังข้าวงอกประมาณ  20 30  วัน
ครั้งที่  2  หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรกไป  30 45  วัน
ครั้งที่  3  ก่อนข้าวออกดอก  30  วัน
การใส่ปุ๋ยรองพื้น  ใช้ไร่ละ  20  กิโลกรัม
นาข้าวในดินทราย  ปุ๋ยที่ราชการแนะนำ  คือ  16 16 8  ใช้  20 35  กิโลกรัม  ต่อ  ไร่
พืชและพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น
พืชพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเหมาะสมของพืชที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศที่ควรได้รับการอนุรักษ์ การส่งเสริม  ตลอดทั้งสร้างความสมหวังให้กับผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี
1.  ต้นมะม่วง  แทบทุกชนิดถือได้ว่าเขตบ้านยางชุมใหญ่เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ผลิตมะม่วงได้หลายสิบตันในรอบปี  โดยเฉพาะมะม่วงแก้ว  เหมาะสำหรับการส่งเข้าโรงงานในการหมักดอง  ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการให้ปลูกมะม่วงแก้ว  ศรีสะเกษ  007  แม้ที่ไหน ๆ  มะม่วงที่อื่นไม่ออกผลแต่ที่นี่มีผลดีมาก
2.  มะขามเปรี้ยว  ดูแลรักษาง่าย  มีประโยชน์  และสามารถส่งผลผลิตภายในเชิงเศรษฐกิจได้  ทุกแห่งที่เป็นหมู่บ้านเก่าแก่จะมีต้นมะขามอยู่ด้วยกันเสมอ  ใช้ผลผลิตในการปรุงอาหาร  ทั้งยอด  ผล  ส่วนลำต้น  เลื่อยทำเขียงดีนักแล  ถ้าจะปลูกจริง ๆ  รับรองตลาดไม่ตันอย่างแน่นอน
3.  ต้นมะเกลือ  ต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองทุกยุคทุกสมัย  ใช้ผลมาทำเป็นยาฆ่าพยาธิ  ใช้ลูกทำยาย้อมผ้าสีดำ  ลูกสุกทานอร่อย  ลำต้นทำเฟอร์นิเจอร์ดีนักแล
4.  มะเฟือง  เปรี้ยว  หวาน  ใช้ลูกมะนาวขัดเล็บมือให้สวยงาม  ขัดหัวเข็มขัด  ใช้จิ้มเกลือทาน ได้วิตามิน  ซี  เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ปลูกไว้ประจำบ้าน  หากส่งเสริมการปลูก  ดินบ้านเราก็ปลูกได้ดี
5.  มะพร้าว  แถวบ้านข้างบึงมีต้นมะพร้าวรายรอบ  เป็นพืชที่ปลูกง่ายชนิดหนึ่งขอให้เตรียมหลุมปลูกให้ดีได้ผลผลิตแน่นอน
พืชในท้องถิ่นมองดูภาพหนึ่งคือของพื้น ๆ  ถ้าได้ปลูก  เงาะ  ทุเรียน  แอปเปิ้ล  ได้น่าจะขายดีทดแทนการนำเข้าได้  แต่ถ้าทดลองดูแล้ว  บางอย่างก็ได้ผล  เช่น  ลำไย  แต่ผลผลิตน้อยมาก  หากเราพัฒนาพืชในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ  และจัดการส่งเสริมการตลาด  อาจได้ลิขสิทธิ์สร้างความสนใจให้ต่างถิ่นได้ดังที่มีมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์  ลำไยเชียงใหม่



ขอขอบคุณข้อมูลดีที่มีประโยชน์จาก
 อาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว
*ข้อมูลบางส่วนอาจมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดจึงขออภัย ณที่่นี้ด้วย*

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น