ลักษณะทางสังคม


ลักษณะทางสังคมของชาวบ้านยางชุมใหญ่

            โครงสร้างจำนวนประชากรของชาวบ้านยางชุมใหญ่มีประมาณ  3,138  คน  แยกเป็นชาย  1,574  คน  เป็นหญิง  1,564  คน  รวม  3,138  คน  (  2541 ) 
            สถาบันทางสังคมของบ้านยางชุมใหญ่
            *  สถาบันครอบครัว  ปัจจุบันเป็นครองครัวเล็กมากขึ้น  แต่ก็มีประมาณ  20  เปอร์เซนต์ที่ยังเป็นครอบครัวใหญ่  การเป็นอยู่ของครอบครัวจะอยู่อย่างง่าย ๆ  มีการปรับตัวทางสังคมเร็ว  และเมื่อมีผลกระทบทางสังคมก็ได้รับเร็วเช่นกัน  เพราะฉะนั้นบางครอบครัวก็พัฒนาเศรษฐกิจความเป็นอยู่ได้ดีและรวดเร็วเช่นกัน  ส่วนบางครอบครัวที่ผู้นำในครอบครัวขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว  เช่น  ติดยาเสพย์ติ  ค่า จำหน่ายยาเสพย์ติด  ครอบครัวแตกแยก  ล้มเหลว  ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพราะไม่ได้รับการทัดทานจากผู้ใหญ่  การตัดสินใจของพ่อบ้าน  แม่บ้าน  ลูกมักจะขาดหลักการเหตุผล  และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม  การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นมีความรุนแรงสูงเหมือนที่เป็นอยู่ทั่วไปในประเทศไทยปัจจุบัน  แต่ด้วยควมรักถิ่นและไม่ค่อยทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของชาวบ้านยางชุมใหญ่ก็ยังเป็นส่วนดีส่วนหนึ่งที่ทำให้  มีการรวมกลุ่มของหมู่ญาติ  ได้มีโอกาสช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ได้มีการขอแรง  เป็นการลงแขกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  อันเป็นส่วนหนึ่งในการยึดเหนี่ยวเกี่ยวพัน  สร้างสามัคคีในหมู่คณะ
            *  สถาบันทางการศึกษาในบ้านยางชุมใหญ่ปัจจุบันมีการจัดการศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน  ในโรงเรียนได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล  ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ส่วนการศึกษานอกโรงเรียนได้มีการจัดการศึกษาอยู่หลายส่วน  เช่น  การคึกษาตามอัธยาศัย  ก็จัดให้มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  การจัดการศึกษาสายสามัญ  ระดับประถม  ระดับมัธยมต้น  ระดับมัธยมปลาย  ที่บ้านอาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว  ที่คุณหมอรุ่งเพชร  ทัดเทียม  การจัดการศึกษาของกรมการศาสนาจัดในระดับอนุบาลเด็กเล็กที่วัดบ้านยางชุมใหญ่  ส่วนการประชุมอบรม  สัมมนาทางวิชาการเป็นครั้งคราวจะเป็นการจัดของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  เช่นการศึกษาอาชีพระยะสั้นของอาจารย์ทองใบ  แซ่เตียว  การอบรมรัฐธรรมนูญ  ของ  กศนอบรม  อสมของสถานีอนามัย  อบรมเยาวชนของพัฒนาชุมชน  อบรมเกษตร  อบรมการทำปุ๋ย  นับว่าบ้านยางชุมใหญ่เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการศึกษาและประชากรมีการศึกษาสูง  แต่เมื่อสำรวขสภาพปัญหาทางสัมคมแล้ว  ก็นับว่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีปัญหาสังคมมาก  โดยเฉพาะเรื่องยาเสพย์ติด  การค้า  การเสพ  มีการตาย  เป็นบ้าก็หลายราย  แต่ก็ยังมีปัญหาหมักหมม จนกระทั่งปัจจุบัน  ด้วยการเป็นโลกาภิวัฒน์  ถ้าจะปราบให้หมดจากบ้านเราในเรื่องการค้า การเสพ  ก็คงเลื่อนไหลไปมากับหมู่บ้านข้างเคียง  แก้ยาก  วิธีที่จะได้ผลต้องเน้นสถาบันครอบครัว  ให้ความอบอุ่น  ให้พออยู่พอกินไม่ฟุ่มเฟือย  และทุกคนต้องแก้ปัญหา  คนที่โยนปัญหายาเสพย์ติดให้กับบุคคลอื่นน่าจะเป็นคนเห็นแก่ตัวมากกว่า  เพราะถ้าถิดถึงหลักเหตุผลการไหลวนของแม่น้ำ  การแก้ปัญหาแต่ละจุด  ถ้ามองในระดับโลก  ถ้าปราบที่พม่าได้  ก็ไปโผล่ที่ลาว  ปราบที่ลาวก็โผล่ที่ไทย  จะหมุนวนไปเรื่อย ๆ  เปรียบเสมือน  ถ้าปราบที่บ้านยางชุมใหญ่สำเร็จรับรองว่าคนเสพไม่เลิกเสพ  ก็จะไปเสพที่บ้านผักขะ  บ้านยางชุมน้อย  หรือที่อื่น  ส่วนคนขาย  ขายบ้านนี้ไม่ได้ก็ไปขายบ้านอื่น  ยิ่งปราบก็ยิ่งมาก  ยิ่งบอกให้เลิกก็เหมือนยิ่งยุ  ขอร้องให้ทุกคนถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปรามคนของครอบครัวของตนเอง  และที่สำคัญตัวเราเองก็จะต้องไม่เสพยาเสพย์ติด  แล้วลูกของเราก็จะเอาแบบอย่างไม่เสพยาเช่นกัน  จากการสังเกตภาพรวม  ถ้าครอบครัวใดผู้ปกครอง  ญาติไม่เคยเสพยาเสพย์ติดมาก่อน  รุ่นลูกรุ่นหลานจะติดยานั้นมีน้อย  เปรียบเสมือนพ่อแม่เป็นจิ๊กโก๋นักเลง  ลูกออกมาก็เช่นกัน  ถ้าไม่อยากให้ลูกปูเดินเซไปเซมา  แม่ปูก็อย่าเซเช่นกัน
            *  สถาบันทางศาสนา  สอนให้คนเป็นคนดี  ลูกชายควรได้รับการบวชเณร  ควรได้รับการบวชพระเมื่ออายุ  20  ปี  เพื่อให้เป็นคนสุก  คนที่สมบูรณ์  เป็นทิด  หรือเป็นบัณฑิต  สมัยก่อนได้บวชกันทุกคนเพราะถ้าใครไม่ได้บวชจะถือว่าเป็นคนดิบ  แต่ปัจจุบันค่านิยมการบวชที่ต้องใช้เงินมาก  หรือการเคร่งทางศาสนาก็น้อยลง  การอบรมสั่งสอน  ตลอดทั้งการถือศีลวินัยของพระ  การส่งลูกหลานเข้าบวชมีน้อย  จะเห็นว่าทุกเหตุผลล้วนประกอบกัน  ทำให้มีคนเข้าไปบวชเรียนเขียนอ่านศึกษาพระธรรมทางศาสนานั้นน้อยมากแทบจะได้ชื่อว่าศาสนาเสื่อม  บางครั้งก็กลายเป็นคนที่ถือศีลคือคนที่ห่างวัด  แต่คนเข้าวัดคือคนหากินกับศาสนา  จนบางครั้งแทบจะแยกกันไม่ออกว่าใครคือคนดี  ใครคือคนชั่ว  ใครคือผู้ทรงศีล  แต่ความจริงย่อมอยู่ที่ใจของผู้กระทำ  ขอให้ท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่าได้ท้อถอยต่อคำกล่าวใด ๆ  กฎแห่งกรรมขององค์พระพุทธเจ้านั้นยังคงมีจริงส่งประกายประกาศสัจธรรมมาแล้ว  2548  ปี  เป็นสัจธรรมที่เป็นจริงประกาศให้โลกได้รับรู้  คนทำดีย่อมได้ไปสวรรค์  ส่วนคนชั่วนั้นก็ต้องตกนรกอย่างแน่นอน
            *  สถานีอนามัยบ้านยางชุมใหญ่  เป็นสถาบันหนึ่งในชุมชนที่มีบทบาทมากในปัจจุบันในด้านการสาธารณสุข  ในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกาย  การรักษาและการป้องกัน  โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยได้กำหนดให้มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ช่วง  พ..  2540 2544  เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคน  ด้านความรู้  ด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  จะเห็นว่าด้านร่างกายเป็นด้านที่มองเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดในการที่จะพัฒนาให้คนมีสสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง  ควรมีการป้องกัน  เช่น  การคุ้มครองผู้บริโภค  การจัดทำบัตรสุขภาพ  การดำเนินชีวิตตามหลักสุขบัญญัติ  10  ประการ  เดิมสถานีอนามัยบ้านยางชุมใหญ่ขึ้นกับสถานีอนามัยบ้านผักขะ  ด้วยความผูกพันทุนการศึกษาของนางสุณา  บุญคง  รับผิดชอบตำบลลิ้นฟ้าทั้งหมด  พ..  2524  ได้ตั้งสถานีอนามัยที่บ้านยางชุมใหญ่  ชื่อว่าสถานีอนามัยตำบลลิ้นฟ้า  แยกรับผิดชอบจากสถานีอนามัยบ้านผักขะ  ปัจจุบันมี  นางจินตนา  เชาว์ชอบเป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
            สถานีอนามัยบ้านยางชุมใหญ่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารสถานีอนามัยหลังใหม่  จัดสถานที่ได้สวยงาม  มีเนื้อที่มากพอควร  ซึ่งเนื้อที่ดินนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก  แม่ใหญ่ผัน  แซ่ลิ้ม  นางเบี่ยง  เชาว์ชอบ  นายวีระพงษ์  เชาว์ชอบ  นางเฮียง  แซ่เตียว  และลูกหลาน  ผุ้ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยก็เป็นลูกสะใภ้ของนายวีระพงษ์  เชาว์ชอบคือ  นางจินตนา  เชาว์ชอบ  เป็นบุคคลสำคัญในการบุกเบิกพัฒนาสถานีอนามัยและพัฒนาชุมชน  ซึ่งได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
            สถานีอนามัยคือสถาบันที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันที่ทุกคน  ทุกครอบครัวต้องไปติดต่อ  ไปรักษา  ไปป้องกันสุขภาพ  และถือได้ว่าสถานีอนามัยคือส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง
            ชนพื้นบ้านของชาวยางชุมใหญ่
            ชาวยางชุมใหญ่เป็นคนลาวแท้ ๆ  เป็นคนลาวกลุ่มทางเวียงจันทน์  อพยพเลือกถิ่นทำมาหากินที่เหมาะสม  มีภาษาพูดของตนเองที่เด่นชัดที่แตกต่างจากหมู่บ้านอื่น  มีการแต่งกายทีเป็นเอกลักษณ์  เสื้อผ้าก็ทอเอง  เครื่องปั่นฝ้าย  อิ้วฝ้าย  ดีดฝ้าย  ปัจจุบันก็ยังคงเหลืออยู่  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมก็ยังได้รับการสืบสานมาจนกระทั่งปัจจุบัน  เสื้อผ้าก็เย็บใช้เองด้วยมือ  ผ้าไหมย้อมมะเกลือ  สมัยก่อนกระดุมทำด้วยเหรียญเงิน  ผ้าซิ่นมีตีนซิ่น  ผู้ชายชอบใส่ผ้าโสร่ง  ทำด้วยไหม  ส่วนผ้าฝ้ายมักทอเป็นผ้าขาวม้าประจำตัว  อย่างน้อยก็นุ่งอาบน้ำ  ( เหน็บกะเตี่ยว ส่วนผู้หญิงก็ใช้เคียน อก  ใช้เบี่ยงบ่าเวลาเข้าวัดฟังธรรม
          แต่ก็มีคนจีนเข้ามาค้าขายมีครอบครัวในหมู่บ้านยางชุมใหญ่ ประมาณ 2   ครั้ง ครั้งแรกก็เป็นเจ๊กเสาร์  ( เข้ามาตั้งแต่ยังไม่มีนามสกุลใช้ ลูกหลานจะออกมาเป็นคนขาว ๆ  และต่อมาก็มีอาแปะเจ๊กเอียง(นายซุนเอียง แซ่ลิ้ม)  สามีแม่ใหญ่ผัน  แซ่ลิ้ม  ซึ่งมีลูกหลานมากครอบครัวหนึ่ง
       ภาษาลาว  สำเนียงบ้านยางชุมใหญ่ปัจจุบันค่อย ๆ  จางหายไปมีลักษณะคล้ายกันกับบ้านอื่น ๆ  และมีหลายคำที่จางหายไป  เช่นคำว่า  ขี้เปี๋ย  ขี้สีด  กะโล่เกียน  โจก ท้าว  นาง  หมู่สู  ตูข้อย
            ลักษณะความเชื่อความผูกพันกับธรรมชาติ  เช่น  ผี  ตามต้นไม้ใหญ่  ดอนปู่ตา  ภูมิบ้าน  ภูมิวัด  การเลี้งผีบ้าน  ผีนา  ผีโป่ง  ผีปอบ  เลี้ยงนางน้อยธรณี  มีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์  เช่น  การสู่ขวัญ  การแต่งแก้  การขึ้นบ้านใหม่  การแต่งงาน  และความเชื่อทางพุทธศาสนาและการยึดจารีตประเพณีของท้องถิ่น  เช่น  สอนลูกผู้หญิงให้ยึด  เฮือน  น้ำ  4   เฮือน  ได้แก่  เฮือนครัว  เฮือนกาย  เฮือนนอน  ทั้งสามสิ่งนี้จะต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยอยู่เสมอ  น้ำ  ได้แก่  น้ำดื่ม  น้ำอาบ  น้ำเต้าปูน  น้ำใจ  สี่ประการนี้จะต้องเติมให้เต็มอยู่เสมอ  ถ้าหญิงใดปฏิบัติเฮือน  น้ำ  ได้  หญิงนั้นถือว่าเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีทำให้ครอบครัวมีความสุข



ขอขอบคุณข้อมูลดีที่มีประโยชน์จาก
 อาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว
*ข้อมูลบางส่วนอาจมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดจึงขออภัย ณที่่นี้ด้วย*

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น