การปกครอง


การปกครองของบ้านยางชุมใหญ่

การปกครองสัมพันธ์กับการปกครองของจังหวัดของประเทศ  ซึ่งแยกเป็นสมัยต่าง ๆ  ดังนี้
1.  สมัยก่อนการปฏิรูปการปกครอง  พ..  2435  บ้านเมืองศรีสะเกษปกครองแบบอาญาสี่  คือ  เจ้าเมือง  อุปราช  ราชวงศ์  ราชบุตร  มีหน้าที่เก็บผลประโยชน์นำส่งแผ่นดิน
2.  สมัยปฏิรูป  พ..  2435  ในสมัยรัชกาลที่  5  ได้จัดรูแปบบการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาคในรูปของมณฑลเทศาภิบาลขึ้น  โดยการรวบรวมหัวเมืองหลายเมืองขึ้นเป็นมณฑล  โดยมีข้าหลวงเทศบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา  จังหวัดศรีสะเกษได้รวมอยู่ในมณฑลอีสาน  ( ลาวกาว ต่อมาในปี  พ..  2455  ในรัชกาลที่  ได้แบ่งมณฑลอีสานออกเป็น  มณฑล  คือ  มณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบลราชธานี  ศรีสะเกษก็เป็นส่วนหนึ่งของอุบลราชธานี
3.  สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ..  2475
ในปี  พ..  2436  ได้ยกเลิกมณฑล  ได้มีการแบ่งจังหวัด  อำเภอ  โดยมีข้าหลวงประจำจังหวัด  ตอนนี้จึงมีความชัดเจนว่าบ้านยางชุมใหญ่ของเราได้ขึ้นเป็นเขตตำบลลิ้นฟ้า  อำเภอเมืองศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ
การปกครองของบ้านยางชุมใหญ่ในสมัยเริ่มแรกก็เหมือนการปกครองทั่วไปในสมัยนั้น  ยายผัน  แซ่ลิ้มเล่าว่าเดิมบ้านเราก็มีการใช้ทาส  ครอบครัวใหญ่ในบ้านเราก็ใช้ทาสในการใช้ให้ทำงาน  จนเมื่อมีการเลิกทาส  เราก็มีการปล่อยทาส  และนับถือซึ่งกันและกันเสมือนเครือญาติจนเท่าปัจจุบันนี้ก็มี  ซึ่งไม่ขอเอ่ยนาม
ในสมัยอยุธยามีกฏหมายที่สำคัญ  คือ
1.  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  ซึ่งได้มาจากมอญเป็นประกาสิทธิ์จากสรวงสวรรค์  แสดงถึงสัจธรรมและธรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะ  โดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ถืออำนาจสูงสุด  แต่กษัตริย์ก็ทรงอยู่ในกรอบทศพิธราชธรรม
2.  พระราชศาสตร์จะมีความสอดคล้องกับพระธรรมศาสตร์  เกี่ยวกับกฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติราชการ  กฎมณเฑียรบาล  เรื่องที่ดินและสถานภาพทางสังคมของบุคคล  โดยสรุปพระราชศาสตร์คือกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ  ส่วนพระธรรมศาสตร์นั้นเป็นประกาศิตจากสวรรค์ซึ่งผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้
3.  กฎหมายอื่น ๆ  ที่พระเจ้าแผ่นดินตราขึ้น  เช่น  กฎหมายลักษณะพยาน  กฎหมายลักษณะอาญาหลวง  กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิด  ลักษณะผัวเมีย  ลักษณะโจร  ฯลฯ  กฎหมายเหล่านี้รวมเรียกว่า  พระราชกำหนดบทพระอัยการ  หรือพระราชกำหนดกฎหมาย
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  มีกฎหมายตราสามดวง  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  ตราบัวแก้ว  ไทยมีการใช้กฎหมายฉบับแตกวันที่  1  มิถุนายน  2451  เรียกว่า  กฎหมายลักษณะอาญา  ร..  127
การปกครองของบ้านยางชุมใหญ่เดิมมีหมู่ที่  1  และ  2  ตำบลลิ้นฟ้า  ต่อมาแยกหมู่บ้านใหม่เป็นหมู่ที่  7  หมู่ที่  12  ตำบลลิ้นฟ้า  หลังจากปี  พ..  2539  บ้านยางชุมใหญ่ได้แยกตำบลยางชุมใหญ่ออกจากตำบลลิ้นฟ้า  และได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่  ดังนี้  หมู่ที่  1  หมู่ที่  2  คือหมู่บ้านเดิม  หมู่ที่  7  เปลี่ยนเป็นหมู่ที่  3  บ้านดอนโกเป็นหมู่ที่  4  หมู่ที่  12  เป็นหมู่ที่  5  แล้วแยกหมู่บ้านใหมเพิ่มอีกคือหมู่ที่  6  และหมู่ที่  7  ปัจจุบันบ้านยางชุมใหญ่จึงมี  8  หมู่ดังกล่าวและมีผู้นำปกครองหมู่บ้านดังนี้
            1.  นายสุริยา  นามวงษ์  กำนันตำบลยางชุมใหญ่  หมู่ที่  1
            2. นาย..............................................  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2
            3.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  3
            4.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  4
            5.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  5
            6.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  6
            7.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  7
            8.  นาย................................................ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  8

การปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันมีองค์การบริหารส่วนตำบลยางชุมใหญ่
การปกครองในอดีตชาวบ้านจะเชื่อฟังพ่อบ้านพ่อเมือง  หากขุ่นเคืองกัน  ไม่เข้าใจกันก็จะไปแจ้งความ ที่ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้านก็จะให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไปเรียกคนทั้งสองฝ่ายและญาติผู้ใหญ่มาร่วมกันปรึกษาสอบถามความเป็นจริง  และท่านก็แนะนำสั่งสอนวินิจฉัย  ตัดสิน  มีการไหมกัน  มีการปรับกันและมีการสั่งสอนกัน  สุดท้ายก็ล้างศาล  สุราขาวสักขวด กับต้มไก่
            ปัจจุบันวัฒนธรรมเปลี่ยนไป  ถ้าเหตุการณ์คอนข้างจะรุนแรงก็จะจบกันที่สถานีตำรวจบ้าง  ศาลบ้าง  แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่พอ ออมชอมกันได้ตกลงกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน
            การปกครองจะดีไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับคน  ความจริงใจ  ความซื่อสัตย์  ความมีสัจธรรม  ของพ่อบ้านพ่อเมือง  ตลอดทั้งความเคารพนับถือของลูกบ้านจะต้องสมดุล  เหมาะสมกัน  คือพ่อบ้านก็ต้องสร้างความศรัทธาให้ลูกบ้านโดยแสดงความจริงใจ  ความมีสัจจะ  ความซื่อสัตย์  สุจริต  ส่วนลูกบ้านก็ให้รักและนับถือผู้หลักผู้ใหญ่  ให้ความเคารพยำเกรง  แล้วบ้านเมืองก็จะสงบอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก




ขอขอบคุณข้อมูลดีที่มีประโยชน์จาก
 อาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว
*ข้อมูลบางส่วนอาจมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดจึงขออภัย ณที่่นี้ด้วย*

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น