พื้นที่สำคัญ


โนนบ้านยางชุมใหญ่
            แบบแปลนหมู่บ้านที่สวยงามและมหัศจรรย์ยากที่จะเห็นที่ใดเหมือน  จากการสังเกตร่องรอยเขตแนวคูเมืองน่าจะอยู่ในสมัยทวาราวดี  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเข้ามาเผยแผ่ศาสนาใหม่ ๆ  ประกอบกับสมัยของที่รุ่งเรือง  ถ้ามองอดีตไปราว  400 – 500  ปี  ท้องถิ่นแถวนี้น่าจะมีป่าที่อุดมสมบูรณ์  เต็มไปด้วยสิงห์  เสือ  สัตว์น้อยใหญ่  มีทุ่งหญ้า  ทุ่งนาที่อุดมสมบูรณ์
            ด้านความปลอดภัยในกลุ่มในคณะคงต้องพึ่งกันเองในการสู้รบการขโมย  โจร  และป้องกันตนจากสัตว์น้อยใหญ่  เสือ  ช้าง  สิงห์  งู  และน่าจะมีคนจำนวนมากพอที่จะช่วยกันขุดดินโดยรอบ  นำขึ้นมากองรวมกันเป็นโนนของหมู่บ้าน  และปล่อยให้บริเวณที่ขุดขึ้นมาโดยรอบให้เป็นบึง  บึงแคน  บึงใหญ่  บึงน้อย  ให้มีเส้นทางออกจากหมู่บ้านข้ามสะพานออกไปเส้นทางเดียว  โดยจัดให้มีประตูเข้า ออก  มีเวรยามประจำหมู่บ้านหมู่โจร  จะเข้ามาลักขโมยก็ทำได้ยาก  ส่วนสัตว์จะเข้ามาขโมยกินเป็ดไก่ก็ทำได้ยาก  และรอบ ๆ  ก็มีปลาจำนวนมาก  เดิมทีที่บึงรอบบ้านจะมีความลึกมากพอสมควร  ผู้คนจะออกหาปลา  หรือข้ามฟากก็จะนั่งเรือแจวหาปลาข้ามฟาก  จะนำเข้าจอดเทียบท่าน้ำที่ท่าข่อย  ( ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน  ทุกวันนี้ก็ยังเรียกว่าท่าข่อย ) เป็นท่าเทียบเรือที่มีต้นข่อยมากมาย
            จากการพิจารณาเศษหินเศษดินที่ไหลตามถนน  มักจะมีเศษหม้อแตก  ( ขี้แม่ห้าง  เป็นเศษหม้อแตกที่มีจำนวนมาก  เด็ก ๆ  นำมากัดกินเล่น  เวลาเล่นตามถนนที่มีทรายไหลลงมาตามน้ำ น่ำจะเป็นการการนำเอาหม้อดินเป็นภาชนะตักเอาดินจากการขุดที่บึงไปเทที่โนนของหมู่บ้าน  เมื่อหม้อแตกก็ทิ้งเลย
            ที่โนนบ้านมีบริเวณกว้างประมาณ  45  ไร่  สูงจากพื้นปกติประมาณ  2.5  เมตร  น่าจะใช้คนจำนวนมาก และใช้เวลานานในการดำเนินการ  การปกครองของคนสมัยก่อนเป็นแบบพ่อปกครองลูกประกอบกับความเชื่อถือ  ความศรัทธาในผู้หลักผู้ใหญ่และการเผด็จการ  เมื่อโดนผู้เป็นใหญ่สั่งงานทุกคนก็ต้องทำตาม
            ดูความงดงามของแปลนบ้านผังเมืองแล้ว  นึกถึงผู้คนสมัยนั้นคงจะมีความงดงามทางด้านจิตใจมาก มองดูความพร้อมเพียง ความสามัคคีของหมู่คณะคงจะน่าสรรเสริญยิ่งนัก ที่ช่วยขุดลอกคลอง ลอกบึง และผู้นำคงจะมีความแข้มแข็ง ความงามที่สร้างความศรัทธาให้ผู้คนจำนวนมากได้ปฏิบัติตามเพราะโดยปกติ ถ้าผู้นำเป็นคนไม่ดีคงจะสั่งใครๆไม่ได้ ซึ่งเคยพบเคยเห็นมาก่อนว่าบุคคลซึ่งชาวบ้านศรัทธาเชื่อถือส่วนใหญ่จะเป็นผู้อยู่ในศิลกินในธรรม ดังที่พ่อแม่เราเคยนำพาลูกหลานปฏิบัติมากันทุกปี ว่าปีนี้ เรามีเป็ดกี่ตัว มีวัวกี่ตัว  มีม้ากี่ตัว มีคนกี่คน ให้เอาใบกล้วยมาฉีก เท่ากับจำนวนคน สัตว์ที่เรามีปีนี้ใส่ในจานดอกไม้ มีธูปเทียนไปบอกพระธรรม ถ้าพระธรรมสั่งให้เราทำอย่างไร เราก็จะปฏิบัติตาม ส่วนพระธรรมก็จะมีเมตตา นำพาแต่สิ่งดีงามให้ลูกหลาน ช่วยขจัดปัดเป่าผีสางไม่ให้มารังควานลูกหลาน เวลาลูกหลานเจ็บป่วย ท่านก็จะนำรากไม้มาฝนให้ทาน ทำน้ำมนต์ให้ดื่ม เป่าโรคภัยไข้เจ็บให้ ความเมตตาของผู้ใหญ่ที่มีต่อลูกหลาน ความกตัญญูที่ลูกหลานที่มีต่อผู้หลักผู้ใหญ่ล้วนผสมผสานกลมกลืนสวยงามยิ่งนัก
            เมื่อสามปีให้หลัง อารยะธรรมทางตะวันตกได้เผยพร่เข้าสู่เมืองไทยอย่างรุนแรง การดูถูกเหยียดหยาม การก้าวร้าวต่อผู้นำท้องถิ่น ว่าไม่ทันสมัยงมงาย ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม หมอยามีแต่ขี้เล็บดำๆ ไม่รู้รากอะไรเอามาฝนให้กันกิน มัวแต่เป่าอยู่นั้นแหละ มัวแต่ไล่ผี เดี๋ยวลูกหลานก็ตายก่อน
            การก้าวร้าวของคนรุ่นใหม่ ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ท้อแท้ ความเมตตาที่เคยมีก็จางหาย ความกตัญญูของเด็กๆก็หายไป แม้แต่ผู้เป็นครูที่ถือว่าเป็นผู้มีการศึกษา ผู้ทราบลัทธิต่างๆ ยังเคยกล่าวว่าคนแก่ไม่มีประโยชน์ ให้เอาไปทำปุ๋ยให้หมด งมงายทำงานก็ไม่ได้ เป็นภาระให้ลูกหลานเลี้ยงเอาไปทำปุ๋ยเหมือนทหารเขมร เอาประชาชนไปฆ่าทิ้งทำปุ๋ยใส่ต้นไม้ยังจะดีกว่า ข้าพเจ้าเคยได้ยินคำพูดเหล่านั้น ถึงตอนนี้คนที่พูดที่เคยเป็นหนุ่มสาวที่แข็งแรง ตอนนี้เขาแก่แล้ว เขาจะนึกถึงคำพูดของเขาไหม และเด็กสมัยนี้ก็ยิ่งนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น เคยเห็นลูกหลานหลายคนด่าพ่อแม่ บังคับให้พ่อแม่ขายไร่ขายนาหาเงินมาซื้อ รถ    มอเตอร์ไซด์ให้ ข้าพเจ้าเคยบอกเด็กๆให้กตัญญูต่อบิดามารดา อย่าไปบังคับท่าน ระวังนะกรรมมันจะสนองกรรม ใครสร้างกรรมไม่ดีไว้ ท่านอย่าหัวเราะเยาะเย้ยเมื่อท่านเป็นผู้ชนะ เป็นผู้บงการคนอื่นได้ ระวังกรรมนั้นจะตามสนองไม่ช้าก็เร็ว
            ภูมิปัญญาท้องถิ่นมันคือเพ็ชรเม็ดงามที่ได้ค้นพบที่ได้รับการเจียรไน คนมีความรู้ คนมีความสามารถ คนมีความดีความงาม คนมีคุณธรรมที่เคยถูกลืมจากสังคม กำลังได้รับการสืบค้นจากผู้คนในสังคม จนสังคมในสังคมบางแห่งท่านเหล่านั้นได้ถูกทอดทิ้งและหายจากสังคมไปแล้ว เพราะความก้าวร้าวของเด็กๆผู้คนผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ท่านเหล่านั้นไม่เคยแสดงความโอ้อวด ไม่เคยประกาศความดีของตน แต่ท่านทำดี ด้วยกาย ด้วยใจ ข้าพเจ้าขอสรรเสริญผู้แสวงหาผู้คนเหล่านั้น
            ครั้งหนึ่งการแพทย์สมัยใหม่รุ่งเรืองมาก ได้ประนามการอยู่ไฟหลังคลอดบุตรว่างมงายให้อยู่ไฟอย่างทรมานให้กินข้าวกับเกลือ กับปลา อาหารอื่นไม่ให้ทาน  ดีไม่ดีโดนไฟคลอกตาย น้ำร้อนๆยังบังคับให้แม่ลูกอ่อนดื่ม สกปรก ใครทำอย่างเดิมใช้ไม่ได้มันต้องพัฒนาแบบสมัยใหม่ ไปออกลูกที่โรงพยาบาล ทานยาฝรั่งขวด หรือสองขวดก็หายไปทำงานได้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นท่านเหล่านั้นเมื่อโดนก้าวร้าวก็เกิดความไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถของตนเองก็พูดต่อๆกันไปว่า คุณหมอท่านเรียนสูงมาจากต่างประเทศ เราคงทำตามท่าน สุดท้ายความรู้เหล่านั้นก็ถูกทำลายไปสิ้น ทำลายยา ทำลายป่า ทำลายคน
            ปัจจุบันยาฝรั่งก็แสนแพง แถมโรคบางโรคยาฝรั่งรักษาไม่หาย แต่ยารากไม้กลับรักษาหาย ข้าพเจ้ามีประสบการณ์กรณีหนึ่ง เมื่อประมาณปี พุทธศักราช 2528 มีหลานเมียคนหนึ่งเป็นหนุ่ม วัยประมาณ 25 ปี อยากไปสอบตำรวจ ก็เลยไปฝึกหัดว่ายน้ำพอกระโดดลงน้ำ รู้สึกมีเส้นกระตุกที่ขา เจ็บมาก ก็เลยรีบเข้าหมู่บ้าน หลังจากนั้นพ่อแม่ก็ได้นำลูกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็หลายแห่งหลายครั้งสุดท้ายคนก็ผอมลงๆกลับมานอนที่บ้าน ช่วงรักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้านแค่เวลา 3 เดือน แต่
คนนั้นผอมลงอย่างผิดปกติ ต้องนอนในมุ้งตลอดเวลา เจ็บปวดตามตัว แทบจะเดินเข้าห้องส้วมไม่ได้ ผู้พบเห็นก็เวทนายิ่งนัก แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้แม้แต่พาไปหาดรงพยาบาลก็ช่วยอะไรไม่ได้ ทุกคนในครอบครัวต่างก็ท้อและหมดหวัง แล้วเย็นวันหนึ่งพ่อของเด็กหนุ่มคนนั้นก็มาหาข้าพเจ้ามาระบายความในใจให้ฟังข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะในใจก็ปลงตกเช่นกันหมอที่ไหนๆก็รักษาไม่ได้แล้วก็เลยพูดส่งเดชไปว่าเอาอย่างนี้ก็แล้วกันไปเอาหมอพ่อใหญ่สุพรรณ  สุขศรี  บ้านยางชุมใหญ่นี้แหละลองไปเป่าไปรักษาเผื่อหาย ถ้าไม่หายก็ไม่เป็นไรถือว่าให้กำลังใจคนป่วย เดี๋ยวเด็กเขาจะหาว่าพ่อแม่ไม่ดูแลเขา
            ข้าพเจ้าได้พานายแสวง   สุขศรี ซึ่งเป็นบุตรของพ่อใหญ่สุพรรณ  ไปทำหน้าที่แทนทุกวันข้าพเจ้าจะทำหน้าที่เพื่อคุณหมอแสวง   สุขศรี และทำหน้าที่สารถี และทำหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล จากการรักษา วันแรกและต่อๆ มา 2-3 วัน เดือนอาการที่เคยเป็นอยู่ก็ทุเลาลงและหายเป็นปกติในที่สุด
            ยิ่งปัจจุบันนี้เข้ายุคไอ เอ็ม เอฟ ยาฝรั่งได้ถีบตัวสูงขึ้นมาก  ประกอบกับความยากจนของคนไทยอย่างถ้วนหน้า หลายคนเริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น จากที่เคยเห็นหมอยาบ้านนอกที่ไร้ความสามารถ งมงาย มีหลายสิ่งหลายอย่างบ่งบอกว่าที่เราเดินตามฝรั่งเสียทุกอย่างนั้นเป็นการเดินทางที่ผิดอย่างมหันต์ หลายสิ่งหลายอย่างที่ดีเราก็ควรรับเอา หลายสิ่งหลายอย่างที่ดีก็ควรรับเอา หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่ดีเราก็ควรละทิ้งเปรียบเสมือนหลายสิ่งหลายอย่างที่ดีงามของบรรพบุรุษของเรา เราควรรักษา เคารพเทิดทูนท่านเหล่านั้น ให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เป็นเสาหลักของบ้านเมือง  จากบทเรียนครั้งก่อนเราบูชาแต่คนรวย ส่วนใหญ่คนรวยจะเป็นคนไม่มีคุณธรรม กอบโกยผลประโยชน์ ผู้นำของหมู่บ้านก็ถือศีลไม่ได้แม้แต่ศีล ห้าข้อ ซึ่งต่างกับผู้นำสมัยก่อน  ท่านถือศีล  เข้าวัด  ฟังธรรม  สั่งสอนลูกหลาน  นำลูกหลานสืสานวัฒนธรรม  สร้างบุญสร้างทาน  ฮีต  12  คือทำบุญทุกเดือน
            เขตโนนบ้านเป็นที่สร้างบ้านเรือนของผู้คน  ลูกหลานสร้างบ้านติดต่อกัน  มีวัดอยู่ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน  รอบ ๆ  หมู่บ้านมีบึงแคน  บึงใหญ่  บึงน้อย  ปู  ปลา  หอย  มากมาย  ผู้คนนั่งเรือหาปลา  ทอดแห  สักสุ่ม  สวิง  หาปลา  เหมือนคำที่ว่า  ในน้ำมีปลาในนามีข้าว  อุดมสมบูรณ์
            เมื่อสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กประมาณ  พุทธศักราช  2508  ในฤดูเข้าพรรษา  จะมีพระเณรมาก  จะมีญาติโยมนำไม้ไผ่มาสานแล้วเอาบาตรพระไปตั้งที่ไม้สาน  นำไปไว้ทางเข้าหมู่บ้านทุกด้าน  เมื่อชาวบ้านไปหาปลากลับมาเวลาเข้าหมู่บ้านก็จะเอาปลาส่วนหนึ่งที่ตนหามาได้ใส่ในบาตรตรงทางเข้าหมู่บ้านนั้น  ทางด้านญาติโยมก็จะนำไปปรับปรุงเป็นอาหารถวายพระ  ปัจจุบันเสาหลักใส่บาตรปลาก็จางหายไปอาจเป็นเพราะคนปัจจุบันเห็นแก่ตัวมากไม่มีคนเอาใส่บาตร  ถ้ามีคนใส่ก็จะมีคนขโมยเอาไปกิน  เพราะคนทุกวันนี้ไม่กลัวบาป  จริง ๆ  แล้วการใส่บาตร  คนใส่จะได้ลดความโลภของตนเอง  คือการรู้จักการให้  การทานกับผู้มีศีล  ทำบุญเลี้ยงพระให้ทานมีชีวิตที่ยืนยาวเพื่อศึกษาพระธรรม  เผยแพร่ศาสนาพุทธให้ยืนยาว  และที่สำคัญคนที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจก็จะสบายใจ  ส่วนคนที่โลภมากท่านบอกว่าพวกนี้เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรต มีปากเล็กเท่ารูเข็ม  จะทานอาหารลำบาก  เพราะพวกนี้จิตใจชั่วร้าย ขโมยของทำลายของคนอื่น  ของส่วนรวม  ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าปัจจุบันมีเปรตเกิดขึ้นมาในโลกมากมาย  แม้แต่สิ่งของ ๆ  วัดก็มีคนลักขโมย  สิ่งของ  ของโรงเรียนก็มีคนทำลาย  ตามป่าไม้ส่วนรวมก็มีคนไปลักขโมย
            การปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงก็ผันไปตามกาลเวลา  ปัจจุบันบึงรอบหมู่บ้านได้ตื้นเขินจากการเป็นบึงลึกหาปลากลายมาเป็นที่นาของชาวบ้านและสุดท้ายก็มีการถมปลูกบ้านเรือนกันแทบจะไม่เหลือเค้าโครงแบบแปลนผังบ้านผังเมือง  และเริ่มได้รับความเดือดร้อน  การไหลของน้ำไม่มีที่ไป  ก็คงจะเป็นปัญหาที่ทางผู้นำชุมชนจะต้องแก้ปัญหากันต่อไป
ดอนเจ้าปู่  ( ดอนปู่ตา )

            แดนศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนในหมู่บ้านได้เคยให้ความเชื่อถือศรัทธาประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ครึ้มมีเถาวัลย์  แม้ตอนกลางวันตะวันส่องจ้ามองขึ้นบนฟ้าในแดนเจ้าปู่จะไม่เห็นตะวัน  เพราะมีใบไม้หนาแน่น  มีรอยงูเต็มไปหมดบริเวณถนนทรายตรงกลาง  มีเสียงจั๊กจั่นในเดือนห้าร้องเซ็งแซ่  ถ้าเดินเข้าไปคนเดียว  รู้สึกวังเวงยิ่งนัก
            ในปีหนึ่ง ๆ  จะมีการเลี้ยงปู่ตาครั้งหนึ่งโดยทุกครอบครัวจะต้องมีเหล้าไหไก่ตัวพร้อมกับมีใบกล้วยฉีกบอกจำนวนคนในครอบครัว  ตอนเลี้ยงทุกครอบครัวจะนำ ( กะลามะพร้าวใส่ขี้เถ้าแทนเหล้าไห  ส่วนไก่ตัวก็จะให้เอาไข่ไก่ ไปวางที่ต้นไม้ใหญ่ในดอนเจ้าปู่  แล้วก็จะมีพ่อใหญ่จ้ำเป็นคนกล่าวเลี้ยง
            ใครจะทำอะไรในหมู่บ้านจะต้องมีการบอกเจ้าปู่  ภูมิบ้านภูมิวัด  จะขึ้นบ้าน  จะแต่งงาน  จะบวช  จะไปทำงานต่างแดน  ( ไปไทย กลับมาจากทำงาน  ได้รถยนต์ใหม่  ได้เรือ  ได้วัวได้ควาย  ทุกสิ่งทุกอย่างเจ้าปู่จะต้องรับรู้คอยปกปักรักษา  แม้แต่จะทำนา  ( ลงนาแต่ละปี ) คนไหนทำผิดคองบ้านคองเมืองก็มักจะมีอันเป็นไปต้องเจ็บป่วย  ซึ่งมักจะเป็นแทบทุกหมู่บ้านในภาคอีสาน
            ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ไปที่บ้านเขื่องใน  ไปเยี่ยมเพื่อน  เห็นครอบครัวหนึ่งเขาแต่งงานกันกำลังทานข้าว  กำลังร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน  เห็นยายคนหนึ่งกำลังทานข้าวอยู่ดี ๆ  แกยืนกระโดดขึ้นชี้หน้าเพื่อนบ้านพร้อมกับพูดว่า  ปัดโถ  พวกมึงแต่งงานกันไม่บอกกูเดี๋ยวกูจะอาละวาด ”  เสร็จแล้วแกก็พูดเรื่อยไปพร้อมกับฟ้อนและรำ  พอดีมีคนในหมู่บ้านบอกว่าให้เจ้าของบ้านจัดแนงแต่งภาข้าว  อาหารคาวหวาน  ไปเลี้ยงขอขมาเจ้าปู่ตาข้างบ้าน  ข้าพเจ้าเห็นเขานำภาข้าวไปบอกกล่าวคำขอขมา  แค่ไม่ถึงห้านาทียายแกก็นอนตึงแล้วได้สติดังเดิม  เมื่อคนถามว่าเมื่อตะกี้เป็นอะไร  แกก็ตอบอะไรไม่ได้เลย
            ดอนเจ้าปู่ทุกหมู่บ้านมักจะเป็นที่เล่าขานความศักดิ์สิทธิ์สู่ลูกหลานเสมอ  บ้านอิปาดก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ยังคงมีดอนเจ้าปู่ที่ยังคงความขลัง  ยังคงเป็นดอนป่าทึบที่ยังไม่มีการทำลาย  เพราะถ้าใครเข้าไปทำลายก็จะได้รับบทเรียน  การเจ็บป่วย  การตายของคนในครอบครัวอยู่เสมอ  เพราะความเป็นดอนเจ้าปู่จึงยังความเป็นป่ายังความอุดมสมบูรณ์ของป่า
            น่าเสียดายลูกหลานชาวยางชุมใหญ่ของเราได้รับวัฒนธรรมแห่งการทำลายเร็วเกินไป ความเป้นเจ้าปู่ที่คนนับถือได้หายสิ้น ความเป็นผู้ใหญ่ ความกตัญญูลดลง แรงทุนนิยม กับการทำลายมาพร้อมกัน การเบียดเบียนหัวไร่ปลายนา ความไม่เชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่หลงทิศทาง ทำให้มรดกดอนเจ้าปู่ค่อยจางหายจากความศรัทธา
            ปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายเป็นที่มั่วสุมเสพยาเสพติดของพวกเปรตมาเกิด ผู้ไร่ซึ่งคุณธรรมผู้ไม่ศรัทธาเชื่อถือบิดา มารดา หน้าตาเหมือนคนแต่จิตใจต่ำทราม ชอบอมควัน ชอบดมกระป๋องสามเค และชอบใช้เข็มทิ่มแทงตัวเอง เปรตพวกนี้จะไม่เคารพครูอาจารย์ จะไม่ฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ใครเป็นผู้ให้กำเนิดเปรตเหล่านี้จะได้รับความทุกข์ทรมานมาก เพราะมันจะขอเงินตลอดเวลา งานไม่ค่อยทำไม่ชอบทำมาหากิน ไม่ชอบเรียนหนังสือ ถ้ามีใครแนะนำทางที่ดีมันจะชอบแสดงอาการโกรธ  น่ากลัวแต่ถ้ามีคนแนะนำให้มันเสพ ค้ายาเสพติด มันจะบูชา เคารพและยอมเป็นทาสรับใช้เเทบเท้า และสุดท้ายมันก็จะให้กำเนิดบุตรเปรตเช่นกัน และต่อจากนั้นลูกเปรตก็จะฆ่าพ่อเเม่เปรตเหมือนกัน
            ดอนเจ้าปู่สถานที่ข้าพเจ้ากับอาม้าเคยไปเก็บขี้ยางมาทำใต้ (ขี้กะบอง) เคยไปตัดเถาวัลย์ในวันอังคาร (เลือกวันที่ดี เวลาที่เหมาะ) และอาม้าก็จะกล่าวคำขอยาจากต้นไม้ก่อนทำการตัดท่านบอกว่า ต้นไม้จะเป็นยาต้องรู้วิธีเอา เลือกฤดูในการเก็บ เลือกวันข้างขึ้นหรือข้างแรม วันที่แข็งหรืออ่อน และที่สำคัญเราจะต้องมีคำขอ เมื่อตัดเถาวัลย์ ตัดรากไม้ใส่ตะกร้าเสร็จ กลับมาถึงบ้าน ข้าพเจ้าจะช่วยตัด ช่วยกระเทาะเปลือก ทำการตากยาไว้ให้แห้ง นำกิ่งไม้แต่ละชนิดมารวมกัน อย่างละ 7 กิ่งและใช้ตอกไม้ไผ่มัด สามช่วง แล้วเก็บใส่ตะกร้าเอาไว้ เป็นยาอยู่กรรมของชาวบ้านยางชุมใหญ่ โดยทุกครอบครัวจะไปเอายาจากอาม้าไปต้มหลังคลอดบุตรน่าเสียดายทุกวันนี้อาม้าอายุเกีอบเก้าสิบปี ไม่มีคนไปขอยาท่าน ป่าก็หมดท่านก็แก่ ยากรรมชุดนี้ไม่มีใครสืบทอดมรดก คงเหลือแต่ความทรงจำของข้าพเจ้าพอลางๆ
            ยาดีๆที่ไม่มีใครรู้ประโยชน์ของมัน เหมือนกับวานรได้แก้วแหวนจะมีค่าอะไร เหมือนกับชาวยางชุมใหญ่ไม่เข้าใจดอนเจ้าปู่ ผู้สร้างตำนานผีสางให้ต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นับถือบรรพชนได้จางหายไป ยังคงเหลือแต่ความก้าวร้าว ความเห็นแก่ตัวพ่อใหญ่ผู้เป็นพ่อใหญ่จ้ำก็เอือมระอาการโต้เถียงของคนรุ่นหลัง สุดท้ายท่านก็พูดว่าเจ้าปู่ตาได้หนีไปแล้ว เพราะชาวบ้านไม่เชื่อถือศรัทธา ทุกวันนี้จึงไม่มีการนับถือเจ้าปู่ตา ไม่นับถือผู้หลักผู้ใหญ่เป็นแบบเมืองฝรั่งไปแล้ว มีแต่ ยู กับ ไอ จากคนที่เท่ากันถึงคนที่เท่ากัน
            ข้าพเจ้าเองพยายามจะสร้างความเมตตาของตนเองให้ลูกหลานได้นับถือ พยายามแบ่งปันให้ความรู้ให้โอกาสให้การชี้แนะสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลาโดยถือว่าทุกครอบครัว ทุกชีวิตในบ้านยางชุมใหญ่คือลูกหลานทั้งสิ้น แต่บ้างครั้งข้าพเจ้าก็ท้อใจกับความเห็นแก่ตัวของผู้คนในสังคม เห็นเด็กก้าวร้าวผู้ใหญ่  ข้าพเจ้าเองก็โดนเด็กดุด่าว่ากล่าว ข้าพเจ้าพยายามทำบุญช่วยสังเคราะห์ผู้อื่นตลอดเวลา แต่ก็เห็นบางคนคอยจะเป็นแต่ผู้จะรับตลอดเวลา สร้างกลุ่มสร้างคณะแอนตี้ต่อต้านบุคคลอื่นรักษาผลประโยชน์ของตน สิ่งเหล่านี้ได้บั่นทอนวัฒนธรรมอันดีงาม ผู้ทำดีต้องท้อใจ แต่คนอยากใหญ่อาศัยหมู่พวกมาก ก้าวร้าวผหู้ใหญ่ในบ้านเมืองกลับเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมแบบได้รับการยอมรับกันทั่วหน้า
            มิน่าเล่าภูมิปัญญาท้องถิ่น คนทำดีเพื่อสังคมท่านได้หลบซ่อนตัวเองอยู่ในภาพของการนิพพานการตายก่อนตายยิ่งมีสุขยิ่งนัก เมื่อผีสางผีเปรตมาเกิดเต็มบ้านเต็มเมืองก็ให้มันอยู่ของมันไป ภูมิปัญญาของท้องถิ่นไปอยู่กับอดีตของบรรพชน ทำชั่วกับเขาไม่เป้น ไปนั่งรักษาศิล กินเจ ตามลำพัง ผู้ถือธรรมย่อมเห็นผู้ถือธรรมด้วยกัน เปรียบเสมือนที่มีคำกล่าวว่า ถ้าท่านเห็นธรรมท่านย่อมเห็นเรา(เห็นพระพุทธเจ้า)ไม่ต้องรอชาตินี้หรือชาติหน้า ถ้าคนเราเห็นสัจธรรมก็เท่ากับท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ไม่ต้องไปศึกาาที่ไหนให้มองไปที่ตัวของเรา ถ้าเราเห็นตัวของเราทุกอย่างเราจะเห็นหมดทั้งไกลและใกล้อีกไม่นานแสงธรรมจะส่องลอดป่าแห่งความชั่วเต็มบ้านเมืองได้ส่องประกายให้สว่างจ้าเป็นทิศทางให้แสงสว่างหลายๆดวงออกมารวมกันเป็นดวงไฟดวงใหญ่ขับไล่หมู่มวลผีให้หายไปจากยางชุมใหญ่ของเราข้าพเจ้าคอยหวังวันนั้นให้มาถึง



                                                            วัดบ้านยางชุมใหญ่
                                                                                    ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 16
                                                                                    กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา ศธ.
                                                                                    เรียบเรียงโดย  นางนัยนา   ศิลธรรม
                                                                                    นายวิชาญ      น้อยโต
            พิมพ์โรงพิมพ์ศาสนา  ถนนบำรุงเมือง  ข้างวัดพระเกศ  กทม. 2540
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
            วัดบ้านยางชุมใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 106 บ้านยางชุมใหญ่หมู่ที่  1 ตำบลยางชุมใหญ่  อำเภอยางชุมน้อย  จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 30  ตารางวา สค.1 ที่ 237 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 2 เส้น  วา จดที่ดินของนายดำดี  มะณู ทิศใต้ประมาณ 2 เส้น 6 วา จดถนน- ที่ดินนางสุตา และนางสุข ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น 10 วา จดถนน-ที่ดินนายดำและนายสอน ทิศตะวันตกประมาณ 3 เส้น จดถนนสาธารณะประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ์กว้าง เมตร  ยาว  15  เมตร  สร้างเมื่อ พ.. 2480  กุฏิสงฆ์  จำนวน หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ และศาลาเอนกประสงค์กว้าง  14  เมตร  ยาว  30  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.. 2530
วัดยางชุมใหญ่ ตั้งเมื่อ พ.. 2531  ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมา เมื่อวันที่ 8  กันยายน พ.. 2531 เขตวิสุงคามสีมากว้าง30 เมตร
ยาว 60  เมตร การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
1.      พระครูโรธ
2.      พระสิมมา
3.      พระสังฆ์
4.      พระมี
5.      พระบัว
6.      พระลี
7.      พระทอง
8.      พระชาลี
9.      พระจำปา
10.  พระเหลียน
11.  พระหล้า
12.  พระลี
13.  พระสุด
14.  พระที
15.  พระสี        ปุณณโร                          พ..    2465-2467
16.  พระหุฒ    วิสุทโธ                            พ..   2467-2469
17.  พระกองสี  อินทปัญโญ                    พ.ศ  2469-2477
18.  พระทองดำ                                       พ.ศ  477-2489
19.  พระภูมิ                                              พ.ศ   2492-2496
20.  พระสร้อย                                          พ.ศ  2496-2470
21.  พระโสม                                            พ..  2497-2498
22.  พระพิมพ์   ปุสสวโร                           พ..   2498-2501
23.  พระทอง    อิสสโร                             พ.ศ    2505-2512
24.  พระครูเกษมสารกิจ                            พ.ศ    2520-ปัจจุบัน
                                              
                                            ข้อมูลจากพ่อใหญ่จารย์ภู
ศาลาการเปรียญสร้างเสร็จเมื่อ พ.. 2485  ในสมัยพระอาจารย์ทองคำ   ได้นำไม้มาจากหลายทิศทาง จากดอนเจ้าปู่บ้านยางเครือบ้าง จากดอนเจ้าปู้บ้านดินดำบ้าง จากการล่องน้ำมาตามห้วยขยุงด้วย  โดยมีหลวงปู่ศรี  จากศรีสะเกษเป้นผู้พาไปเอาเพราะท่านมีคถาขอต้นไม้เก่าแก่เพราะถ้าไม่มีคถาอาจทำให้ผู้ตัดไม้มีอันเป็นไปได้ ให้ชาวบ้านให้พระให้เณรช่วยกันเลื่อย เอาไม้มาขึ้ที่ท่าเรือห้วยครก ใส่เกวียนใหญ่เข้าหมู่บ้าน เสาต้นใหญ่ๆให้เขาถากซื้อมาต้นละ 4-5 บาทโดยมีช่างด้วงมาจากศรีสะเกษเป็นช่างก่อสร้าง
     ส่วนไม้ลายเขียนของช่างจิตกรรม ปฏิมากรรมนั้นปั้นนูนต่ำ ที่หน้าบันเป็นฝีมือของนายเสงี่ยมนายช่างมาจากบ้านดวนใหญ่          แกพูดภาษาเขมร เวลาแกพูดภาษาลาวก็จะออกสำเนียงเขมรแกใจเย็นมากแกเขียนฝ้าเพดาน แกจะนอนเขียน แต่ถ้ามีคนมาคุยด้วยแกจะหยุดเขียน เพราะแกต้องใช้สมาธิในการเขียน  แกเคยบอกว่าเคยไปเขียนที่พระแก้วมรกตเพื่อนของแกเป็นผู้หญิงเขียนเก่งมากเขียนได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา เขาจึงได้เขียนที่วัดพระแก้วมากกว่า
     สำหรับค่าจ้างรางวัล แล้วส่วนใหญ่แก่สูบยากระทอบ่อย ต้องให้พระเณรออกไปขอเจ้าชาวบ้านมาไว้ให้แก่ได้สูบ ค่าจ้างก็ประมาณ 700-800 บาท
  ภาพจิตรกรรม นางเมฆขลาล่อแก้ว กับรามสูร ข้างขวาน อยู่บนเพดานศาลาการเปรียญสวยงามมากแม้เวลาจะผ่านมาร่วม  60  ปี แต่ก็ยังคงความสวยงาม ดูความอ่อนช้อยของเส้นแต่ละเส้นดูการแต่งแต้มของสีสันแล้ว  บุคคลธรรมดาคงทำไม่ได้แน่ เป็นฝีมือที่ได้รับการฝึกฝน มีทักษะ มีประสบการณ์ ในการทำงานมามากและที่สำคัญผู้ทำงานชิ้นนี้ใช้สมาธิสูง ประกอบกับความเพียร เพราะผลงานมีความสม่ำเสมอ ตลอดทั้งหน้าของแผ่นกระดาน
   ส่วนภาพปฏิมากรรมปูนปั้นตรงหน้าจั่วทั้งสองข้าง ดูความสมดุล ความสวยงามความได้สัดส่วน  ความอ่อนหวาน ความลึกตื้นของมิติ ถือได้ว่าสวยงามมากแห่งหนึ่ง ที่ยากจะหาดูได้ความอ่อนช้อยความกลมกลืน ตลอดทั้งความคงทนของสีสัน
       ทราบว่านายช่างเสงี่ยมมีลูก 2 คน มีคนหนึ่งเป็นแม่ค้าขายของที่ศูนย์การค้าศรีสะเกษนับว่าเป็นช่างฝีมือดีคนหนึ่งของศรีสะเกษเมื่อ 60  ปีที่แล้ว

.................................................................................................................................................................
จดหมายเหตุของวัด
( แบบจำเป็น )
บันทึกบางส่วนจากพระครูเกษมสารกิจ
            4  มีนาคม  2531  ได้ทำการติดตั้งนั่งร้านทาสีโบสถ์ใหม่  โดยการว่าจ้างช่างทำในราคา  24,716  บาท  ค่าสีทาประมาณหนึ่งหมื่นบาท  แล้วทำฉลองผูกสีมาใหม่  ในวันที่  28 29 30  เมษายน  2531  มีการทำการแข่งขันบ้องไฟด้วยในปีนี้
            7        มีนาคม  2531
            ไปซื้อสีทาโบสถ์หม่กับครูใหญ่ณรงค์  นายผัน  ชาลี  นายนิยม  นามวงศ์  นายหมุน  อำไพ  กลับบ้าน  นายสัมฤทธิ์  ขันคำ  นายพิพ์  ขันคำได้ทำปั้มน้ำยังไม่ไหล
            13  มีนาคม  2531  แรม  11  ค่ำ  เดือน  4  ผู้ใหญ่บ้านหมู่  7  หมู่  12  ไปซื้อบ้านแล้วรื้อมาทำเป็นกุฏิวัดใหม่ป่าช้า ( ที่พักสงฆ์มงคลสุธาวาส )
            7  เมษายน  2531  แรม  6  ค่ำ  เดือน  5  ได้ดำเนินการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาของอุโบสถใหม่  จะทำการถอดถอนของเก่า  สวดทำใหม่  ทำไดม่ได้จึงจำเป็นต้องขอพระราชทานใหม่  ขัดข้องทางพระวินัยจึงทำไม่ได้กำหนดจะทำในวันที่  30  เมษายน  2531  ทำไม่ได้จึงต้องทำการเฉลิมฉลองเท่านั้นจึงเขียนไว้เป็นสำคัญ
            พระครูเกษมสารกิจ     ผู้บันทึก
           
            26  เมษายน  2531  ทางวัดได้เชิญอาจารย์ใหญ่ณรงค์  นามวงศ์  เดินทางขอตรวจดูหลักฐานของการสร้างวัด โบสถ์ ผูก  ที่กรมการศาสนา  กองศาสนสถานได้ทำการผูกสีมาใหม่ในวันที่  30  เมษายน  2531  ทำใหม่
            พระครูเกษมสารกิจ
            27  เมษายน  2531  พระครูเกษมสารกิจ อาจารย์ณรงค์  นามวงศ์  ไวยาวัจกรผัน  ชาลี  ได้เดินทางไปนมัสการหลวงพ่อเจ้าคุณเทพวรมุนี  เจ้าคุณจังหวัดศรีสะเกษที่วัดพระโตในเรื่องผูกพัทธสีมาผูกลูกนิมิตใหม่ในวันที่  30  เมษายน  ขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  6  ปีมะโรง
            พระครูเกษมสารกิจ     เจ้าอาวาสวัดบ้านยางชุมใหญ่
                                    ผู้จดบันทึก
            30  เมษายน  2531  ทำการผูกพัทธสีมาใหม่อีกครั้งโดยหลวงพ่อเจ้าคุณเทพวรมุนี  เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษวัดพระโต  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  พระสงฆ์ในวันนี้ประมาณ  60 70  รูป  ประกอบด้วยข้าราชการนายอำเภอยางชุมน้อย  ส..ศึกษาธิการอำเภอเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
            7  พฤษภาคม  2531  ติดตั้งใบเสมารอบอุโบสถ  โดยมีนายมี  ศิริเทศเป็นช่างหัวหน้า  ถึงวันที่  8  พฤษภาคม  2531  สำเร็จ
            12  พฤษภาคม  2531  ได้เดินทางไปติดต่อทางราชการอำเภอเรื่อง  ขอขึ้นขอแจ้ง ขอรับ น.. 3  จากที่ดินอำเภอยางชุมน้อย  หลักฐานต้องมีคือ  หนังสือรับรองจากเจ้าคณะชั้นใดชั้นหนึ่งว่าวัดนี้ได้สร้างถูกต้องหรือไม่ตามทะเบียนของวัด  และหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาส  หลักฐานที่มีอยู่แต่เดิมคือ
1)      ประกาศตั้งวัด  9  มิถุนายน  2311
2)      รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  2352
3)      ผูกพัทธสีมาครั้งแรก  2354
4)      ผูกพัทธสีมาครั้งที่สอง  30  เมษายน  2531
            พระครูเกษมสารกิจ
                        เจ้าอาวาสวัดบ้านยางชุมใหญ่
            13  พฤษภาคม  2531  ได้ไปกราบเรียนขอหลักฐานจากเจ้าคณะจังหวัด  เพื่อประกอบการขอขึ้นหนังสือ  น..  3  ของวัดและได้ส่งสามเณรเกษมขึ้นรถไฟไปกรุงเทพฯเพื่อศึกษาธรรมวินัยไป  ซึ่งไปอยู่วัดจันทร์ใน  บางโคล่ ประดู่  1  ยานนาวา
            วันที่  20 21  พฤษภาคม  2531  ไปกรุงเทพฯ  ธุระในเรื่อง  สิ่งของของสามเณรเกษมถูกขโมยลักถุงย่าม  และวันที่  26  พฤษภาคม  2531  ได้ไปเยี่ยมเยียนพบคุณหญิงระเบียบ  ธำรงค์นาวาสวัสดิ์  พร้อมด้วยสามเณรเกษม  และขอบิณฑบาตคุณหญิงเป็นผู้อุปถัมภ์สามเณรเกษมด้วย  พูดคุยกันในเรื่อง  ซ่อม  สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่  และคุณโยมจะได้ทำผ้ากฐินมาทอดวัดยางชุมใหญ่  วันที่  12  พฤศจิกายน  2531  ด้วย
            พระครูเกษมสารกิจ
            เจ้าอาวาสวัดบ้านยางชุมใหญ่
ประวัติของข้าพเจ้าโดยสังเขป
1.      เกิดปี  2477
2.      บรรพชา  อุปสมบทปี  2499
3.      ปัจจุบันปี  2531  อายุ  54  ปี
4.      อายุพรรษา  32
5.      หลวงพ่อเจ้าคุณเกษตรศีลาจารย์องค์อุปัชฌาย์  ทั้งหมดบันทึกไว้กันลืม
26    มิถุนายน  2531
พระครูเกษมสารกิจ
มกราคม  2531
            ได้ส่งสามเณรเกษม  นามวงษ์ไปศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานครโดยไปจำพรรษาที่วัดจันทร์ใน  บางโคล่  ยานนาวา  ตั้งแต่  พ..นี้เป็นต้นไป
26    ตุลาคม  2531  วันเทศกาลออกพรรษา  เพ็ญเดือน  11
ทางวัดได้ซื้อหนังควายมาทำหน้ากลองเพลตอนถวายกัณฑ์เทศน์  นายบุญมา  จันทะศิลา  คัดค้านกรรมการผู้ถวายเงินกัณฑ์เทศไม่ให้จ่ายค่าเนื้อแก่เจ้าของเนื้อ  นายตา  นาห่อม  จึงว่าถ้าไม่ให้ก็ต้องต่อยปากกันเท่านั้น  จึงเกิดการค่อว่าต่อคำกัน  อาตมาจึงห้ามปรามจึงยุติลง
            ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ได้รับเมื่อ  โปรดเกล้าพระราชทานตั้งแต่วันที่  8  กันยายน  2531  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม  105  ตอนที่  152  วันที่  16  กันยายน  2531 
            จึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานสำคัญตั้งแต่วันที่  31  ตุลาคม  2531 
            เจ้าอาวาสท่านใดขอให้ดูตามนี้
            พระครูเกษมสารกิจ     เจ้าอาวาสวัดบ้านยางชุมใหญ่
            11 12  พฤศจิกายน  2531  ขึ้น  3 4  ค่ำ  เดือน  11
            โยมคุณหญิงระเบียบ บรรเจิด  ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ทอดกฐินได้เงินบำรุงวัดประมาณ  4  หมื่นกว่าบาท
            พระครูเกษมสารกิจ
            16  ธันวาคม  2531  ได้ไปพระราชทานวิสุงคามสีมาจากหลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอวัดกุดเมืองฮามแล้วเลยไปศรีสะเกษ  ขอรับแบบแปลนก่อสร้างศาลาการเปรียญจากสำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
            พระครูเกษมสารกิจ
            ข้าพเจ้าไปติดต่อขอผ้าป่าและเลยไปพบคุณหญิงระเบียบ  ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ที่กรุงเทพมหานคร  กลับบ้าน  6  มกราคม  2532            จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ
            พระครูเกษมสารกิจ
            เจ้าอาวาสวัดบ้านยางชุมใหญ่
            15  มกราคม  2532  ได้ประชุมตกลงในการก่อสร้างศาลาหลังใหม่และได้เซ็นสัญญาว่าจ้างโดยอุปกรณืเป็นของนายช่างเองและงวดแรกได้จ่ายเงิน  60,000  บาท
            จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ
            พระครูเกษมสารกิจ
18    มกราคม  2532 
            ให้ไวยาวัจกรณ์  ( นายผัน    ชาลี ไปเบิกเงินจากธนาคารออมสินให้ช่างในการก่อสร้างศาลาการเปรียญเป็นเงินครั้งแรก  60,000  บาท  ( หกหมื่นบาท ในการก่อสร้างครั้งนี้อุปกรณ์เป็นของนายช่างเอง
            จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ
                        พระครูเกษมสารกิจ
15     มกราคม  2532  ขึ้น  9  ค่ำ  เดือน  ยี่  ปีมะเส็ง  ทำสัญญาว่าจ้างการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่
            24   ตุลาคม  2532  ได้เชิญท่านนายอำเภอยางชุมน้อย  นายไพบูลย์  เสลานนท์  และศึกษาธิการอำเภอนายบุญร่วมปักเขตพัทธสีมาใหม่
            จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ
                                  
            พระครูเกษมสารกิจ
            9  กุมภาพันธ์  2541
            ได้ทำประกันชีวิตโดยคณะกรรมการดำเนินการโดยเงินของวัดผู้รับประโยชน์คือวัด
            พระครูเกษมสารกิจ
1        มีนาคม  2541  ขึ้น  4  ค่ำ  เดือน  4  ได้เผาศพ  นางหนู  ขันคำ  ที่เมรุ  ครั้งแรก



ขอขอบคุณข้อมูลดีที่มีประโยชน์จาก
 อาจารย์ซุนย้ง  แซ่เตียว
*ข้อมูลบางส่วนอาจมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดจึงขออภัย ณที่่นี้ด้วย*

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น